เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [3. จักกวัตติสูตร]
เรื่องความเจริญด้วยอายุและวรรณะเป็นต้นของภิกษุ

2. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัม-
ปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลก
3. พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด
อภิชฌาและโทมนัสในโลก
4. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลก
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง มีธรรม
เป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่ เป็นอย่างนี้แล

เรื่องความเจริญด้วยอายุและวรรณะ เป็นต้น ของภิกษุ

[110] ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงประพฤติธรรมอันเป็นโคจร ซึ่งเป็น
วิสัยอันสืบเนื่องมาจากบิดาของตน เมื่อเธอทั้งหลายประพฤติธรรมอันเป็นโคจร ซึ่ง
เป็นวิสัยอันสืบเนื่องมาจากบิดาของตน จักเจริญด้วยอายุบ้าง จักเจริญด้วยวรรณะ
บ้าง จักเจริญด้วยสุขะบ้าง จักเจริญด้วยโภคะบ้าง จักเจริญด้วยพละบ้าง
ในเรื่องอายุของภิกษุ มีคำอธิบาย อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร (สมาธิที่
เกิดจากฉันทะและความเพียรสร้างสรรค์)
2. เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร (สมาธิที่
เกิดจากวิริยะและความเพียรสร้างสรรค์)
3. เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร (สมาธิที่
เกิดจากจิตตะและความเพียรสร้างสรรค์)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :80 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [3. จักกวัตติสูตร]
เรื่องความเจริญด้วยอายุและวรรณะเป็นต้นของภิกษุ

4. เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร (สมาธิที่
เกิดจากวิมังสาและความเพียรสร้างสรรค์)
เพราะเจริญ ทำอิทธิบาท 4 ประการนี้ให้มาก เมื่อมุ่งหวัง เธอจะพึงดำรงอยู่
ได้ 1 กัป หรือเกินกว่า 1 กัป
ภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นคำอธิบายในเรื่องอายุของภิกษุ
ในเรื่องวรรณะของภิกษุ มีคำอธิบาย อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์ เพียบ
พร้อมด้วยอาจาระและโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ใน
สิกขาบททั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นคำอธิบายในเรื่องวรรณะของภิกษุ
ในเรื่องความสุขของภิกษุ มีคำอธิบาย อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก
วิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่
2. เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป บรรลุทุติยฌาน ...
3. บรรลุตติยฌาน ...
4. บรรลุจตุตถฌาน ...
ภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นคำอธิบายในเรื่องความสุขของภิกษุ
ในเรื่องโภคะของภิกษุ มีคำอธิบาย อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. มีเมตตาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ 1 ... ทิศที่ 2 ... ทิศที่ 3 ... ทิศที่ 4 ...
ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่า
ในที่ทุกสถานด้วยเมตตาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต
ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :81 }